วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงงานเรื่องดวงอาทิตย์


บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

            ในระบบสุริยะของเรา เป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ 9 ดวง มีดวงจันทร์มากกว่า 48 ดวง ดวงจุลเคราะห์มากกว่า 1000 ดวง และอุกกาบาตที่นับไม่ถ้วน เป็นบริวารโคจรรอบๆดวงอาทิตย์

                เนื่องจากดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ และมีความสำคัญต่อดวงดาวอื่นๆเป็นอย่างมาก เพราะดวงอาทิตย์มีแรงดึงดูดระหว่างมวลสามารถทำให้ดวงดาวอื่นๆไม่หลุดจากวงโคจร มีความร้อน แสงสว่าง และพลังงานให้แก่ดวงดาวอื่นๆ และดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่นๆบนโลกเป็นอย่างมาก เพราะดวงอาทิตย์ให้พลังงานชนิดต่างๆ และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในหลายๆด้าน เช่น บอกเวลา แสงจากดวงอาทิตย์ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ทำให้พืชมีการเจริญเติบโต เป็นต้น แต่มนุษย์เราไม่รู้หรอกว่าดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างงไร มีลักษณะอย่างไร

                ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญและสืบค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์มาให้ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้น้องๆรุ่นหลังและบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเกี่ยวกีบเรื่องของดวงอาทิตย์

วัตถุประสงค์

1.             เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์

2.             เพื่อให้รู้ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์

3.             เพื่อให้รู้ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

            ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์



บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          การแลกซี่หรือดาราจักร  ( Galaxy)   คือ ระบบที่กว้างใหญ่ไพศาล  ประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวฤกษ์  ก๊าซและฝุ่น    ท้องฟ้า  ที่เรียกว่า  เนบิวลา   และที่ว่าง ( Space) รวมกันอยู่ในระบบเดียวกันเพราะมีแรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน กาแลกซี่  ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเอกภพเกิดมาเมื่อประมาณ 18,000  ล้านปีมาแล้ว   ประมาณว่าในเอกภพมีดาราจักรถึง 100,000 ล้านระบบ  และเชื่อว่า ดาวฤกษ์ต่างๆรวมทั้งดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ต่างก็เคลื่อนรอบศูนย์กลางของกาแลกซี่ด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์กับสิ่งที่อยู่   ณ ใจกลางของกาแลกซี่ ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงสูงมาก  นักดาราศาสตร์เชื่อว่าสิ่งนี้คือ   หลุมดำ  ( Blank  Hole) ซึ่งเชื่อว่ามีความลึกไม่มีที่สิ้นสุด  สิ่งต่างๆ เมื่อหลุดเข้าไปไม่สามารถออกมาได้  ดาวฤกษ์ที่เห็นบนท้องฟ้าเป็นดาวที่อยู่ในกาแลกซี่ของเรา หรือกาแลกซี่ทางช้างเผือก ( The Milky  Way  Galaxy)   มีลักษณะเป็นฝ้าขาวคล้ายเมฆบางๆ  อยู่โดยรอบท้องฟ้า  (คือ   ดวงดาวประมาณแสนดวง)  กาแลกซี่ทางช้างเผือก  เป็นกาแลกซี่แบบกังหัน   เนื่องจากมองด้านบนและด้านล่างจะเห็นว่ามีโครงสร้างเป็นรูปจาน  หรือจักร   หรือขดหอย ( Spiral  Structure) โดยจุดศูนย์กลางจะเป็นรูปวงรี ( Ellipsoid) มีความยาวถึง   100,000 ปีแสงดวงอาทิตย์ของเราอยู่ทางแขนด้านขวาห่างใจกลางของกาแลกซี่ประมาณ   30,000 ปีแสง


ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง[5] ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของ เมฆออร์ต

กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย

ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส

มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก

สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน









กำเนิดระบบสุริยะ

      ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่าโซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว  (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์)  เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1    แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม  ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์  


ภาพที่ กำเนิดระบบสุริยะ

            วัสดุชั้นรอบนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่า ยังโคจรไปตามโมเมนตัมที่มีอยู่เดิม รอบดวงอาทิตย์เป็นชั้นๆ   มวลสารของแต่ละชั้นพยายามรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง  ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นรูปทรงกลม เนื่องจากมวลสารพุ่งใส่กันจากทุกทิศทาง   
            อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงทำให้วัสดุที่อยู่รอบๆ พยายามพุ่งเข้าหาดาวเคราะห์  ถ้าทิศทางของการเคลื่อนที่มีมุมลึกพอ ก็จะพุ่งชนดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมวลรวมกัน  แต่ถ้ามุมของการพุ่งชนตื้นเกินไป ก็จะทำให้แฉลบเข้าสู่วงโคจร และเกิดการรวมตัวต่างหากกลายเป็นดวงจันทร์บริวาร  ดังเราจะเห็นได้ว่า ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี จะมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงและมีวงโคจรหลายชั้น เนื่องจากมีมวลสารมากและแรงโน้มถ่วงมหาศาล  ต่างกับดาวพุธซึ่งมี
ขนาดเล็กมีแรงโน้มถ่วงน้อย ไม่มีดวงจันทร์บริวารเลย  วัสดุที่อยู่โดยรอบจะพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ เพราะ
มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าเยอะ



องค์ประกอบของระบบสุริยะ

       ดวงอาทิตย์ (The Sun)  เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงตำแหน่งศูนย์กลางของระบบสุริยะและเป็นศูนย์กลาง
ของแรงโน้มถ่วง ทำให้ดาวเคราะห์และบริวารทั้งหลายโคจรล้อมรอบ



ภาพที่ 2  ระบบสุริยะ


           ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets)  เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูงและพื้นผิวเป็น
ของแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธาตุหนัก มีบรรยากาศอยู่เบาบาง ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลจากความร้อนของ
ดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ทำให้ธาตุเบาเสียประจุ ไม่สามารถดำรงสถานะอยู่ได้   ดาวเคราะห์ชั้นใน
บางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์พื้นแข็ง “Terrestrial Planets"เนื่องจากมีพื้นผิวเป็นของแข็งคล้ายคลึง
กับโลก  ดาวเคราะห์ชั้นในมี 4 ดวง คือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก 
   และดาวอังคาร

              ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets)  เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ แต่มีความหนาแน่นต่ำ เกิดจาก
การสะสมตัวของธาตุเบาอย่างช้าๆ  ทำนองเดียวกับการก่อตัวของก้อนหิมะ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของ
ความร้อนและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย  ดาวเคราะห์พวกนี้จึงมีแก่นขนาดเล็กห่อหุ้มด้วย
ก๊าซจำนวนมหาสาร  บางครั้งเราเรียกดาวเคราะห์ประเภทนี้ว่า ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ (Gas Giants) หรือ  Jovian Planets   ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายดาวพฤหัสบดี  ดาวเคราะห์ชั้นนอกมี 4 ดวง
คือ ดาวพฤหัสบดี    ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน 

             ดวงจันทร์บริวาร (Satellites)  โลกมิใช่ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีดวงจันทร์บริวาร  โลกมีบริวาร
ชื่อว่า ดวงจันทร์” (The Moon)  ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีบริวารเช่นกัน  เช่น ดาวพฤหัสบดีมี
ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวง ชื่อ ไอโอ (Io)   ยูโรปา  (Europa) กันนีมีด (ganymede) คัลลิสโต (Callisto) 

 ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กัน เพียงแต่ดวงจันทร์มิได้รวมตัวกับดาวเคราะห์โดยตรง แต่ก่อตัวขึ้นภายในวงโคจรของดาวเคราะห์  เราจะสังเกตได้ว่า หากมองจากด้านบนของระบบสุริยะ  จะเห็นได้ว่า ทั้งดวงอาทิตย์    ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ส่วนใหญ่  จะหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกาและโคจรรอบดวงทิตย์ในทิศทวนเข็มนาฬิกาเช่นกันหากมองจากด้านข้างของระบบสุริยะก็จะพบว่า    ทั้งดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวาร จะอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกับสุริยะวิถีมาก  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากระบบสุริยะทั้งระบบ ก็กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยการยุบและหมุนตัวของจานฝุ่น  

               ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) เป็นนิยามใหม่ของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International    Astronomical Union) ที่กล่าวถึง วัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลม แต่มีวงโคจรเป็นรูปรี    ซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และไม่อยู่ในระนาบของสุริยะวิถี ซึ่งได้แก่ ซีรีส พัลลาส พลูโต    และดาวที่เพิ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส เซ็ดนา วารูนา  เป็นต้น (ดูภาพที่ 3 ประกอบ)


ภาพที่ 3  ขนาดของดาวเคราะห์แคระเปรียบเทียบกับโลก

                ดาวเคราะห์น้อย  (Asteroids) เกิดจากวัสดุที่ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ได้    เนื่องจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์  ดังเราจะพบว่า   ประชากรของดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ที่ แถบดาวเคราะห์น้อย” (Asteroid belt)   ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี   ดาวเคราะห์แคระเช่น เซเรส   ก็เคยจัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (เส้นผ่านศูนย์กลาง 900 กิโลเมตร)    ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปรีมาก  และไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี   ขณะนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วประมาณ 3 แสนดวง


ภาพที่ 4  แถบดาวเคราะห์น้อย

              ดาวหาง(Comets) เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อย    แต่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงยาวรีมาก  มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซในสถานะของแข็ง    เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ ความร้อนจะให้มวลของมันระเหิดกลายเป็นก๊าซ    ลมสุริยะเป่าให้ก๊าซเล่านั้นพุ่งออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ กลายเป็นหาง

           วัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Objects) เป็นวัตถุที่หนาวเย็นเช่นเดียวกับดาวหาง   แต่มีวงโคจรอยู่ถัดจากดาวเนปจูนออกไป บางครั้งจึงเรียกว่า Trans Neptune Objects    ทั้งนี้แถบคุยเปอร์จะอยู่ในระนาบของสุริยะวิถี โดยมีระยะห่างออกไปตั้งแต่ 40 – 500 AU (AU ย่อมาจาก   Astronomical Unit หรือ หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับระยะทางระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือ 150   ล้านกิโลเมตร)   ดาวพลูโตเองก็จัดว่าเป็นวัตถุในแถบคุยเปอร์ รวมทั้งดาวเคราะห์แคระซึ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส   เซ็ดนา วารูนา  เป็นต้น  ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์แล้วมากกว่า 35,000 ดวง


ภาพที่ 5  แถบไคเปอร์ และวงโคจรของดาวพลูโต

           

 เมฆออร์ท (Oort Cloud)  เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ แจน ออร์ท (Jan Oort) ซึ่งเชื่อว่า ณ สุดขอบของระบบสุริยะ รัศมีประมาณ 50,000 AU จากดวงอาทิตย์  ระบบสุริยะ
ของเราห่อหุ้มด้วยวัสดุก๊าซแข็ง ซึ่งหากมีแรงโน้มถ่วงจากภายนอกมากระทบกระเทือน   ก๊าซแข็งเหล่านี้ก็จะหลุดเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ กลายเป็นดาวหางวงโคจรคาบยาว (Long-period   comets)


ภาพที่ 6 ตำแหน่งของแถบไคเปอร์และเมฆออร์ท (ที่มา: NASA, JPL)

ข้อมูลที่น่ารู้

        -ระบบสุริยะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้านกิโลเมตร
        - 99% ของเนื้อสารทั้งหมดของระบบสุริยะ รวมอยู่ที่ดวงอาทิตย์
        - ในปัจจุบันถือว่า ดาวเคราะห์มี 8 ดวง  ดาวพลูโต   ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีรีส จูโน พัลลาส  เวสตา  และวัตถุไคเปอร์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น อีรีส เซดนา  ถูกจัดประเภทใหม่ว่าเป็น ดาวเคราะห์แคระ
        - ดาวศุกร์มีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงสุดในระบบสุริยะ (ร้อนกว่าดาวพุธ) เนื่องจากมีภาวะเรือนกระจก
        - ดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่ถูกค้นพบแล้ว มีจำนวนไม่น้อยกว่า 130 ดวง
        - นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากกว่า 300,000 ดวง  ส่วนใหญ่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย  ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจัน  ซึ่งอยู่ร่วมวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี  และยังมีดาวเคราะห์น้อยบางดวงโคจรเข้าใกล้โลกมากกว่าดวงจันทร์
        - ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดวงจันทร์บริวารด้วย เช่น ดาวเคราะห์น้อยไอดา (Ida) ขนาด 28 x 13 กิโลเมตร  มีดวงจันทร์แดคทิล (Dactyl)ขนาด 1 กม. โดยมีรัศมีวงโคจร 100 กิโลเมตร
       - ดาวพลูโตที่จัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 3 ดวง

บทที่ 3

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการทดลอง

อุปกรณ์

1.             ปากกา

2.             คอมพิวเตอร์

3.             กระดาษ

4.             ไม้บรรทัด

5.             ดินสอ

6.             ยางลบ,ลิขวิด


วิธีการดำเนินการทดลอง

1.             สืบค้นข้อมูล

2.             วางแผนและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

3.             ลงมือปฏิบัติ

4.             สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรูปเล่ม

5.             ตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรูปเล่ม

6.             งบประมาณ 300 บาท

7.             สถานที่ คือ บ้าน โรงเรียน ร้านอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด






ตารางปฏิบัติงาน

เวลาดำเนินการ
ปฏิบัติงาน
30 .. 56
หาเรื่องที่เป็นที่สนใจหรือเรื่องที่ผู้จัดทำต้องการศึกษา และตั้งชื่อเรื่อง
1 – 10  .. 56
ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา
11 – 20 .. 56
รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์เรียบเรียงและสรุปเนื้อหา
21 – 30 .. 56
วางแผนการจัดทำโครงงาน
1 – 10 .. 56
จัดทำโครงงาน
11-20 ..56
ประเมินผลและแก้ไขรูปเล่ม
1 .. 57
นำเสนอโครงงาน








บทที่ 4

ผลการทดลอง

ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดไม่ใหญ่นัก   ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต

ดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง

ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุก ๆ 1,400 ปี[4]


ส่วนประกอบ (COMPOSION)
       ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระเหลือง (yellow dwarf)  ดวงหนึ่งจัดเป็นดาวฤกษ์ขนาดย่อม  แต่เพราะว่ามันอยู่ห่างจากโลกราว  93  ล้านไมล์ ( 150  ล้านกิโลเมตร)  ดวงอาทิตย์จึงเป็นดาวฤกษ์บนฟากฟ้าที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา  ดวงอาทิตย์เป็นลูกกลมดวงใหญ่ที่ประกอบด้วยก๊าซฮีเลียมประมาณร้อยละ  24  ไฮโดรเจนร้อยละ  75  และธาตุอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ  1 ภายในดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion reactions)  ดำเนินอยู่ ส่งผลให้อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันเกิดเป็นอะตอมของฮีเลียมซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อยและให้พลังงานออกมาด้วย  พลังงานนี้แผ่ผ่านอวกาศมาถึงโลกทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้



โครงสร้าง  (STRUCTURE)
           ดวงอาทิตย์ประกอบขึ้นด้วยมวลก๊าซจำนวนมหาศาลซึ่งทำให้ใจกลาง (core) ซึ่งเป็นส่วนในสุดที่ห้อมล้อมด้วยชั้นที่เย็นกว่าหลายชั้นนั้นร้อนจัดมาก ที่ใจกลางดังกล่าวมีอุณหภูมิราว 36  ล้านองศาฟาเรนไฮต์   แต่ที่ผิวนอกร้อนเพียง  11,000  องศาเท่านั้น ตรงส่วนบนสุดของใจกลางเป็นเขตการแผ่รังสี( radiant zone)  ซึ่งปลดปล่อยรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาภายนอก ถัดไปเป็นเขตการพา(convection zone)  ซึ่งเป็นที่ที่มีลำก๊าซมหิมาจำนวนมากผุดพลุ่งขึ้นและยุบลงสลับกัน  ถัดออกมาก็เป็นผิวนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นได้และรู้จักกันในชื่อของโฟโตสเฟียร์ (photosphere)  ซึ่งเป็นชั้นบาง ๆ เพียง ชั้นเดียว


             

            บนชั้นโฟโตสเฟียร์นี้ยังมีชั้นบาง ๆ อีก 1 ชั้นเรียกว่า โครโมสเฟียร์ (chromosphere)  ซึ่งหนาประมาณ 1,800 ไมล์ (3,000 กิโลเมตร) ถัดออกมาเป็นชั้นของก๊าซในสภาพเป็นไอออนที่มีความหนาแน่นต่ำและร้อนจัดมากพวยพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางไกลซึ่งทำให้เห็นเป็นวงแสงสีรุ้งรอบดวงอาทิตย์เมื่อเกิดสุริยุปราคา  ชั้นของก๊าซนี้เรียกว่ากลดสุริยะ (solar corona)  เป็นชั้นที่ร้อนจัดมากชั้นหนึ่ง ทั้ง  2 ชั้นนี้ถือได้ว่าเป็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ (the Sun's atmoshere)








การใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์


            พลังงาน ส่วนใหญ่ที่มีในโลก ได้มาจากดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ส่งพลังงาน ออกมาเป็น รังสี โดยรอบดวง ความร้อน ที่โลกเราได้รับเป็นรังสีชนิดหนึ่ง ที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์

           ดวงอาทิตย์ ให้พลังงานแก่โลก ในรูปความร้อนและแสงสว่าง สิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช และสัตว์รับและ ใช้พลังงานเหล่านี้ โดยตรง เช่น พืชใช้แสงแดด ในการปรุงอาหาร คนใช้แสงแดดช่วยใน การถนอมอาหาร พลังงานแสงแดดถูก เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานเคมี สะสมอยู่ใน อาหารที่ปรุงได้ อาหารที่ปรุงได้บางส่วนก็ถูกใช้ทันที บางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืชคนและสัตว์กินพืชเป็นอาหาร นั่นคือ คนและสัตว์ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทางอ้อม เพราะอาหารที่กินเข้าไปนั้นมีพลังงานอยู่ ดวงอาทิตย์ยังเผาน้ำทะเลในมหาสมุทร และในแม่น้ำลำคลอง ให้กลายเป็นไอลอยสูงขึ้นไปในอากาศ ไอน้ำนี้จับกลุ่มรวมกันเป็นเมฆ เมื่อเมฆเย็นลงจะจับตัวเป็นหยดน้ำ แล้วตกลงมาเป็น ฝน ฝนทำให้เกิดลำธาร แม่น้ำ และทะเลสาบ

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นเครื่องรับพลังงานความร้อนและแสงจากดวงอาทิตย์ มาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าให้ไป ทำงานบางอย่างแทนคนและสัตว์ได้ เซลล์แสงอาทิตย์นี้ใช้มากในดาวเทียม และใช้ขับเคลื่อนรถบางชนิด










บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง

            ดวงอาทิตย์ คือ ดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดไม่ใหญ่นัก เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก  ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย เป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระเหลือง (yellow dwarf)  ดวงหนึ่งจัดเป็นดาวฤกษ์ขนาดย่อมประโยชน์ของดวงอาทิตย์คือ

1.            ให้พลังงานแก่โลก ในรูปความร้อนและแสงสว่าง

2.            พืชใช้แสงแดด ในการปรุงอาหาร

3.            คนใช้แสงแดดช่วยใน การถนอมอาหาร

4.             บอกเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.             ได้รู้ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

2.             ได้รู้ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์

3.            ได้รู้โครงสร้างของดวงอาทิตย์